วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ ผู้นำในดวงใจ

                                                                  ผู้นำทางวิชาการ
รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร


1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
รองศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร อดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กรรมการกฤษฎีกา อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และ ภายหลังได้รับเลือกจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
รองศาสตราจารย์ นรนิติ จบการศึกษาปริญญาตรีจาก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วุฒิบัตรด้านโซเวียตศึกษา จากมหาวิทยาลัย Fribourg สวิตเซอร์แลนด์, ปริญญาโทด้านการทูต ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และรัสเซียศึกษา จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา เคยเป็นคณบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่าง พ.ศ. 2521-2522 เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2532 - ?) เคยเป็นกรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ สูงสุดที่ได้รับ    ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)

2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
-หนังสือ เบื้องหน้าเบื้องหลังการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ” 2550
-หนังสือ รู้รอบตัวในรอบโลก” 2548
-หนังสือ พรรคการเมือง
-หนังสือ การปกครองและการเมืองของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
-หนังสือ การเสริมสร้างสมรรถนะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรองศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์, รองศาสตราจารย์ ดร.จรัส สุวรรณมาลา, รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต, รองศาสตราจารย์ ดร.ปธาน สุวรรณมงคล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรสิทธิ์ วชิรขจร, ศาสตราจารย์ ดร.มิชิโอะ มูรามัทซุ, ศาสตราจารย์ ดร.โนบุกิ โมชิดะ, ศาสตราจารย์ ยูทากะ คาทายามา, ศาสตราจารย์ มาซาฮิสะ ฮายาชิ, ศาสตราจารย์ เคนโจ อะกิซูกิ, รองศาสาตราจารย์ ฟูมิโกะนากาอิ, 2545
-ชีวประวัตินายกรัฐมนตรีไทยตั้งแต่ พ.ศ.2475 - 2529
-การเมืองไทยตามนัยรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 10 ธันวาคม 2475
-บทบาทของก๊กการเมืองนอกระบบพรรค : ศึกษากรณีกลุ่มราชครู
                -หนังสือเผยแพร่ เรื่อง "เขตการศึกษาแบบหนึ่งของอเมริกัน : ดูของคนอื่นแล้วคิดถึงของตนเอง" เงินทุนจากงบประมาณรายจ่ายจากรายได้พิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2544, ศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21 หน้า.

3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
ชอบในประเด็นที่รองศาสตราจารย์ นรนิติ ได้เขียนผลงานเกี่ยวกับเรื่อง สู่สยามนามขจรเป็นเรื่องเกี่ยวกับบรรพชนของตระกูลเศรษฐบุตร ซึ่งผู้เขียนได้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง และเขียนเล่าโดยใช้มุมมองของตนเองประกอบกับหลักฐานที่ค้นเจอ

อ้างอิงจาก http://topscholar.org/blog

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น