“ต้นแบบ” ว่ามี 2 นัย นัยแรกคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ นัยที่สองคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จัก แม้เพียงแค่มอง ผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมาย “แค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล” จุดเริ่มต้นของการเกิดแรงบันดาลใจในชีวิตผู้ดูแบบ คือการ ได้รู้ ได้ดู ได้เห็นต้นแบบ เกิดศรัทธาต่อต้นแบบ เกิดแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เลียนแบบของต้นแบบ หากเราเผยแพร่ตัวแบบที่ไม่เหมาะสมต้นแบบชองการกระทำในอบายมุข ต้นแบบของการฉ้อราษฎร์ ต้นแบบของการหยาบคายในกิริยาและวาจา ต้นแบบของการประจบสอพลอ ฯลฯ สังคมจะดูต้นแบบที่น่าชื่นใจเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างคุณภาพดีแก่เยาวชน แก่ประเทศชาติจากที่ไหน
นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร
นำมาพัฒนาในตนเองก็คือ เมื่อจะเป็นครูจะปฎิบัติตัวให้เหมาะสม ปฎิบัติตนให้ดี ให้ถูกต้อง และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกศิทย์และบุคคลทั่วไป เ และจะพยายามดูแบบอย่างที่ดีจากคนอื่นด้วย เพื่อมาปรับปรุงในสิ่งที่ไม่เหมาะสมในตัวของข้าพเจ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น