วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 2 ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ

1.นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา

ตอบ การบริหารเป็นศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็นผลสำเร็จ และเป็นกระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราจะเรียกว่าเป็นการบริหารได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
การบริหารการศึกษา เป็นกิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายที่เราได้กำหนดไว้

2.นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์และศิลป ยกตัวอย่างประกอบ

ตอบ ศาสตร์คือ ความรู้ที่ถูกต้อง แนวคิดดี ๆ คติประจำใจ ศาสตร์สามารถถ่ายทอดได้โดยผ่านทางตำรา คำพูด หรืออื่นๆตามความสามารถผู้ที่จะรับหรือศึกษาศาสตร์นั้นๆ บางคนอาจจะศึกษาทั้งชีวิตแต่ไม่บรรลุ เช่น ทางด้านวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา เป็นต้น ส่วนศิลป์ คือ การลงมือปฏิบัติ ลงมือทำด้วยความชำนาญ ศิลป์เป็นเรื่องของหัวคิด สมอง ความก้าวหน้า การไม่ยึดติด เช่น ศิลปะทางด้านการวาดภาพ การร่ายรำ เป็นต้น


 3.นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อ ๆพอสังเขป

ตอบ วิวัฒนาการของการบริหารวิวัฒนาการของการบริหาร มี 4 ยุค คือยุคที่ 1 วิวัฒนาการของการบริหารยุคก่อน Classical เป็นระยะเวลาก่อนการคิดค้นการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ เริ่มต้นตั้งแต่คนรู้จักรวมกำลังทำงานเรื่อยมา จนถึงประมาณ ค.ศ. 1880 เป็นครั้งแรกที่คาเริ่มหาวิธีการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ สาะสำคัญในยุคที่ 1 1. คนงานอยู่ภายใต้อำนาจของหัวหน้าผู้ควบคุมหรือนายจ้าง 2. ความสัมพันธ์ระหว่างกันมีพื้นฐานจากระบบเจ้าขุนมูลนาย 3. ใช้ระบบเผด็จการ 4. สังคมชาวเยอรมันมีการแบ่งแยกบุคคลที่มีอำนาจเหนือกว่า 5. มีระบบศักดินา พื้นฐานความคิดของการบริหารในยุคนี้ยังไม่เกิด บุคคลใดอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจแล้ว ก็จะมีอำนาจควบคุมระบบสังคมและเศรษฐกิจ คนเมื่อเกิดที่แห่งใดแล้วก็จะจำกัดเฉพาะที่นั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขฐานะของตนได้ ในยุคนี้ ช่างฝีมือทำงานอย่างเดียวกัน มีการรวมกลุ่มกัน กลุ่มนั้นคือการเกิดสหบาลกรรมกร เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 องค์กรมีขนาดใหญ่ขึ้น การผลิตเปลี่ยนจากครัวเรือนมาเป็นโรงงาน และในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 องค์การธุรกิจรูปแบบบริษัทก็เกิดขึ้น สรุปวิวัฒนาการของการบริหารในยุคก่อน Classical 1.เริ่มจากคนรู้จักรวมกลุ่มกันทำงานประมาณ ค.ศ.1880 2.บุคคลทำหน้าที่บริหารจัดการขึ้นอยู่กับลักษณะของกลุ่มนั้น 3. ไม่มีกฎเกณฑ์ใด ๆ เป็นยุคเผด็จการ มีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่ ยุคที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุค Classical เป็นยุคการบริหารทีมีหลักเกณฑ์ อยู่ระหว่างปี ค.ศ.1880 – 1930สาระสำคัญของยุคที่ 2 1.มีการรปฏิวัติอุตสาหกรรม 2.มีการจ่ายค่าจ้างให้คนงานอย่างเพียงพอ 3.มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินส่วนตัว 4. มีความก้าวหน้าทางวิชาการ 5.เกิดศาสตร์ทางการบริหาร พื้นฐานความคิดของการบริหารยุคนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาทางอุตสาหกรรม คือพยายามศึกษาวิธีการผลิต พยายามบอกวิธีทำงานให้มีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานที่สุด ขจัดความไม่ยุติธรรม นักคิดในทางบริหารFrederick W.Taylor ( บิดาแห่งการจัดการทางวิทยาศาสตร์ ) เป็นชาวเยอรมัน ได้พัฒนาหลักการ การบริหารไว้ 4 ข้อ ดังนี้ 1.งานทุกงานต้องกำหนดวิธีการอ่าน และทุกคนต้องปฏิบัติตาม 2. มีหลักเกณฑ์การคัดเลือกคนงาน 3. ทุกคนต้องได้รับการอบรม 4. ฝ่ายบริหารต้องร่วมมือกับพนักงานTaylor ใช้เทคนิคการบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์ เรียกว่า Time – and – motion Study ( 1. เวลาที่จะใช้มนุษย์ทำงาน 2. หลักการกำหนดค่าจ้าง กำหนดตามลักษณะงาน 3. การแยกการวางแผนออกจากการปฏิบัติงาน )Henri Faylo นักอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศส บิดาแห่งทฤษฎีการบริหาร ได้กำหนดขั้นตอนของการบริหารไว้ คือ 1.การวางแผน ( Planning ) 2.การจัดองค์การ( Organizing ) 3.การบัญชาการ( Commanding )4.การประสานงาน( Coordinate )5.การควบคุม( Control )Faylo เสนอหลักการบริหาร 14 หลัก ดังนี้ 1.แบ่งงานกันทำ 2.อำนาจหน้าที่ในการบังคับบัญชา 3.การมีระเบียบวินัย 4.ความเป็นเอกสารในการบังคับบัญชา 5.หลักผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นรอง องค์การเป็นหลัก 6.หลักความเอกภาพในทิศทาง 7.ผู้บริหารมีอำนาจตัดสินใจ 8.ความยุติธรรมต่อนายจ้าง และลูกจ้าง 9.หลักการมีสายบังคับบัญชา 10.หลักความเป็นระเบียบแบบแผน 11.ความเสมอภาค 12.ความมั่นคงในการทำงาน 13. หลักความริเริ่มสร้างสรรค์ 14.หลักความสามัคคีหรือมีน้ำใจMax Weber นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ( บิดาแห่งราชการ )เป็นนักคิดการบริหารแบบระบบราชการ นำไปใช้บริหารองค์กรได้ดี 7 ประการ ดังนี้

1.การมีกฎระบียบข้อบังคับ
2.ไม่ยึกติดตัวบุคคล ไม่มีลักษณะเป็นส่วนตัว
3.หลักแบ่งงานกันทำ
4.มีโครงสร้างสายบังคับบัญชา
5.ความเป็นรอาชีพที่มั่นคง
6.มีอำนาจในการตัดสินใจ
7.มีเหตุผลยุคที่
3     วิวัฒนาการของการบริหารยุคมนุษยสัมพันธ์ ( Human Relation ) เป็นแนวคิดทางการบริหารที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1974 มาจนถึง ค.ศ. 1950 พื้นฐานความคิดทางการบริหารกล่าวได้ว่า Elton Mayo เป็นบุคคลแรกที่มำให้แนวความคิดทางการบริหารเปลี่ยนแปลงไป มนุษย์เป็นสังคม มีความต้องการให้ความคิดของตัวเองเป็นจริง เน้นการจูงใจElton Mayo ได้ทำการทดลอง ที่เป็นที่รู้จักในนาม ฮอธอร์น ศึกษาที่โรงงานฮอธอร์น ของบริษัท เวสเทอร์น อิเล็กตริก เริ่มในปี พ.ศ. 1924 – 1927
ผลการศึกษา
1.สถานที่ของห้องทำงาน เรื่องของแสงสว่างที่มีมีผลต่อการเพิ่มผลผลิต
2.กลุ่มมีผลต่อการปฏิบัติงานของคน
3.ระบบสังคมหรือสภาพแวดล้อมในที่ทำงานมีผลกระทบต่อผลงานของคน

  4.ทัศนคติของพนักงานมีผลต่อการผลิตของงานข้อเสนอแนะของ Mayo
1.หาทางแก้ไขด้านบริหาร
2.ใช้ประโยชน์จากวิชาความรู้สาขาต่าง ๆ ทางด้านสังคมศาสตร์
3.นำวิธีการทางมนุษยสัมพันธ์มาใช้อย่างถูกต้อง
4.มีการจูงใจพนักงาน
   5.มีการสื่อสารที่ดีในองค์การแนวความคิดกลุ่มมนุษยสัมพันธ์ เน้นเรื่อง
 1.ภาวะผู้นำ ( Leadership )
2.ทัศนคติในงาน ( Job attitudes )
3.พลวัตรของกลุ่ม ( Group dynamic )
     ในยุคนี้ให้ความสำคัญกับคนและกลุ่มทำงาน ยุคที่ 4 ยุค Behavioral Organization หรือ ยุคพฤติกรรมศาสตร์ เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มปี 1958 - ปัจจุบัน (10 ปี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 )เป็นการผนวกความสำคัญของคนกับระบบเข้าด้วยกัน คือเป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญทั้งงานและคนตามสถานการณ์ เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด ( Chester I Barnard ) ชาวอเมริกัน ซี่งเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดพฤติกรรมศาสตร์ เชื่อว่า องค์การเป็นระบบของการร่วมแรงร่วมใจกันของบุคคล ตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ บาร์นาร์ดเชื่อว่าการโน้มน้าวจิตใจมี 2 ลักษณะเฉพาะเจาะจง คือเรื่องของแรงจูงใจด้านวัตถุ และลักษณะทั่วไป คือเรื่องความรู้สึก ดักกลาส แมกเกอเกอร์ ( Douglas McGregor s ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ว่ามี 2 แบบ คือ
1. Theory x ทฤษฎีเอกซ์ เป็นสมมติฐานในทางลบของบุคคล
2.Theory y ทฤษฎีวาย เป็นสมมติฐานทางบวกการบริหารแบบพฤติกรรมศาสตร์มี      อิทธิพลต่อการบริหารการศึกษา คือ
 1.ทำให้ผู้บริหารหันมาสนใจกับการพัฒนาระบบการทำงานและการส่งเสริม สร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรในโรงเรียน
2.ผู้บริหารโรงเรียนควรนำหลักวิทยาศาสตร์ สังคม และจิตวิทยา มาใช้ในการบริหารอย่างเหมาะสมผสมผสานอย่างกลมกลืน
3.ผู้บริหารโรงเรียนควรนำกรอบความคิด นำสรุปที่ได้จากทฤษฎีการบริหารมาเป็นแนวทางในการบริหารและประยุกต์ใช้หลักการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง

4.นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีX ทฤษฎีY

       ตอบ  ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความ ต้องการเหล่านี้    ต้องได้รับการตอบสนองตามลำดับขั้น
       ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต

       ขั้นที่ 2 ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คือความต้องการที่จะมีชีวิต ที่มั่นคง ปลอดภัย
       ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่
       ขั้นที่ 4 ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา   ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้ เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง                       

       ขั้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูงของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้
มาสโลว์ได้กล่าวเน้นว่า ความต้องการต่าง ๆ เหล่านี้ต้องเกิดเป็นลำดับขั้น และจะไม่มีการข้ามขั้น ถ้าขั้นที่ 1 ไม่ได้รับการตอบสนอง ความต้องการในลำดับขั้นที่ 2-5 ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ การตอบสนองที่ได้รับในแต่ละขั้นไม่จำเป็นต้องได้รับทั้ง 100% แต่ต้องได้รับบ้างเพื่อจะได้เป็นบันไดนำไปสู่การพัฒนาความต้องการในระดับที่สูงขึ้นในลำดับขั้นต่อไป


       ทฤษฎีภาวะผู้นำ สมัยโบราณมนุษย์มีความเชื่อว่า การเป็นผู้นำเป็นเรื่องของความสามารถที่เกิดขึ้นเฉพาะตระกูล หรือเฉพาะบุคคลและสืบเชื้อสายกันได้ บุคลิกและลักษณะของการเป็นผู้นำ เป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิดและเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ผู้ที่เกิดในตระกูลของผู้นำย่อมจะต้องมีลักษณะผู้นำด้วย
      แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย มีการศึกษาและรวบรวมทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ โดยแบ่งตามระยะการพัฒนา ดังนี้
        1. ทฤษฎีคุณลักษณะภาวะผู้นำ (Trait Theories)

        2. ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ (Behavioral Theories)
        3. ทฤษฎีตามสถานการณ์ (Situational or Contingency Leadership Theories)4.ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป (Transformational Leadership Theories)

  ทฤษฎี X พื้นฐานของคน คือ ไม่ชอบทำงาน พื้นฐานคนขี้เกียจ อยากได้เงิน อยากสบาย เพราะฉะนั้นบุคคลกลุ่มนี้จำเป็นต้องคอยควบคุมตลอดเวลา และต้องมีการลงโทษมีกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด
ในการบริหารจึงควรใช้มาตรการบังคับ มีระเบียบกฎเกณฑ์คอยกำกับ มีการควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด และมีการลงโทษเป็นหลัก
     ทฤษฎี Y เป็นกลุ่มที่มองในแง่ดี มีความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบ เต็มใจทำงาน มีการเรียนรู้ มีการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน มีความคิดสร้างสรร และมีศักยภาพในตนเอง คนประเภทขยัน ควรมีการกำหนดหน้าที่การงานที่เหมาะสม ท้าทายความสามารถ สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเชิงบวก และควรเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน


5.ทฤษฎีอธิบายมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ

ตอบ ทฤษฏีการเสริมแรงของสกินเนอร์ การเสริมแรงของมนุษย์มีพื้นฐานอยู่บนปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ มนุษย์จะมีพฤติกรรมตามการเสริมแรงที่เกิดขึ้นกับตนและการทำงานของตน เป็นพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้ และการเสริมแรงที่เหมาะสมนั้นจะทำให้พฤติกรรมที่เป็นที่ต้องการมีเพิ่มขึ้น และที่ไม่ต้องการมีลดน้อยลงไป แบ่งเป็น การเสริมแรงทางบวก คือ การให้รางวัลในผลลัพธ์จากการกระทำที่ต้องการหรือปรับปรุงพฤติกรรม และการเสริมแรงทางลบ คือ การให้รางวัลจากการสามารถขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไปได้ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ โครงสร้างบุคลิกภาพของมนุษย์ ประกอบไปด้วยพลัง 3 ประการ ได้แก่ Id Ego และSuperego

แหล่งที่มา :

      ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
     ศิริพงษ์ เศาภายน, (2548). หลักการบริหารการศึกษา : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น