วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้

              การที่จะจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี ความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ที่มีความสามารถในด้าน  การคิดวิเคราะห์  การสังเคราะห์   และมีวิสัยทัศน์ ที่ดีกว้างไกล   ดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่   ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  โดยการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถทางด้านการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด   


 มีหลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  มีดังนี้
               1 .   เป็นกระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน

               2.    มีการเรียนรู้  หรือศึกษาการเรียนรู้ได้จากแหล่งต่าง ๆ  มากมายไม่ใช่ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเดียว
              3.     เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง
              4.     เป็นกระบวนการที่มีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
              5 .   เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการเรียนของผู้เรียน
             6.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตจริงของแต่ละบุคคล

              จากหลักการที่ได้กล่าวมานั้น    จะสามารถนำไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างมีความสุข

แผนการจัดการเรียนรู้


กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                                      (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว                                                     จำนวน ๘ ชั่วโมง
แผนการเรียนรู้ที่ ๓ เรื่อง เชี่ยวชาญความรู้                                                    เวลา ๑ ชั่วโมง

มาตรฐาน ท๑.๑   ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต  และมีนิสัยรักการอ่าน
สาระสำคัญ
         การอ่านในใจเป็นการอ่านที่เข้าใจเรื่องราวได้เพียงคนเดียว ผู้อ่านต้องใช้สมาธิ สติในการอ่าน ศึกษาคำยาก  ตั้งจุดหมายในการอ่าน อ่านอย่างพินิจ พิจารณาจะทำให้จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถตอบคำถาม      ลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง และนำไปเขียนเป็นแผนภาพโครงเรื่อง เพื่อการเล่าเรื่องและเขียนเรื่องได้
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
         .     อ่านในใจบทเรียนตามหลักการอ่านในใจที่ดีได้ถูกต้อง
         .    ตั้งคำถาม ตอบคำถาม จากเรื่องที่อ่านได้
สาระการเรียนรู้      
         .     อ่านในใจบทเรียน เรื่อง ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว
         .    การตั้งคำถาม ตอบคำถามของเรื่อง
กระบวนการเรียนรู้
         .     นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละประมาณ ๔ - ๖ คน เพื่อเล่น ปริศนาคำทาย โดยครูเป็นผู้อ่านปริศนาคำทาย
         .    ร่วมกันสนทนาถึงหลักและวิธีการอ่านในใจ โดยครูแจกใบความรู้ เรื่อง การอ่านในใจ โดยให้ศึกษาหาความรู้เป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน
         .    นักเรียนฟังครูแจ้งจุดประสงค์ในการอ่านในใจ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังครั้งนี้ เช่น
                  .๑ ตั้งคำถาม และตอบคำถาม จากเรื่องที่อ่านได้
                  .๒สรุปข้อคิด และใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้       
         .    แต่และกลุ่มรับใบกิจกรรมที่ ๓ เรื่อง ตั้งคำถามรวมพลังสามัคคี  และทำกิจกรรมตามใบกิจกรรม
         .    แต่ละกลุ่มทำแบบฝึกหัดที่ ๓ เรื่อง การอ่านในใจและคิดวิเคราะห์  เสร็จแล้วส่งครูตรวจ
         ๖.    ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว โดยครูเน้นให้นักเรียนนำข้อคิดที่ได้จากเรื่องไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องความสามัคคี
         .    นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ ๑ ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว
สื่อ/อุปกรณ์
         .     ปริศนาคำทาย
         .    ใบกิจกรรมที่ ๓ เรื่อง ตั้งคำถามรวมพลังสามัคคี
         ๓.   แบบฝึกหัดที่ ๓  เรื่อง การอ่านในใจและคิดวิเคราะห์
         .    แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ ๑ ปฏิบัติการสายลับจิ๋ว
แหล่งเรียนรู้
         .     ห้องสมุด
         .    ห้องเรียน
กระบวนการวัดผลประเมินผล
         .     วิธีการวัดผลและประเมินผล
                  .  การสังเกต
                          การอ่านในใจ
                  .๒ ตรวจผลงาน
                          ..  แบบทดสอบหลังเรียน
                          ..  แบบฝึกหัดที่ ๓
         ๒.   เครื่องมือประเมินผล
                  .     แบบสังเกตการอ่านในใจ
                  .    แบบประเมินการตรวจผลงานการตั้งคำถาม (ใบกิจกรรม)
         ๓.   เกณฑ์การประเมิน
                  .     สังเกตอ่านในใจ ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ ๘๐
                  .    การตรวจผลงาน ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ ๘๐

ปริศนาคำทาย
จุดประสงค์     .     เพื่อสื่อสารคำและเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้
                          .    เพื่อกระตุ้นความสนใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้
                          .    เพื่อปลุกเร้าใจนักเรียนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของข้าว ต้นไม้และชาวนา
วิธีดำเนินการ          .     แบ่งกลุ่มนักเรียนให้เหมาะสมกับจำนวนนักเรียน
                                   .    ครูอ่านปริศนาคำทายให้แต่ละกลุ่มตอบ
                                   .    กลุ่มตอบได้มากที่สุดถือว่าชนะ (อาจให้รางวัลตามความเหมาะสม)
ปริศนาคำทาย
         อะไรเอ่ย ?
         .     ตัวเล็กสีแดง เรี่ยวแรงแข็งขัน ทำงานขยัน ไม่หวั่นกลัวใคร เด็กรู้บ้างไหมคืออะไรกันหนา (มดแดง)
         .    เป็นสัตว์ตัวโต หูใหญ่ตาเล็ก ผู้ใหญ่และเด็กต่างก็ชอบดู พวกเราเคยรู้ว่าแพ้มดแดง ใครรู้ให้แซงตอบมาทันที (ช้าง)
         .    เป็นสัตว์ใกล้เรา เคล้าแข้งเคล้าขา มันไม่ชอบหมาชอบกินปลาเป็นอาหาร ใครรู้ตอบพลันจะช้าอยู่ใย (แมว)
         .    ชาวอะไรปลูกข้าวให้เรากิน เหงื่อไหลไคลรินอยู่พื้นดินนานมา (ชาวนา)
         .    อากาศร่มเย็นใครเป็นคนทำ ผืนดินชุ่มฉ่ำใครทำให้ดี รู้แล้วตอบทีอย่ามัวรีรอ (ต้นไม้)
         .     เราใช้สร้างบ้านมานานหนักหนา นำมาจากป่ารู้ไหมว่าคืออะไร (ต้นไม้)
         .    สีเขียวงามตา ในป่ามากมี รู้ไหมคนดีสิ่งนี้คืออะไร (ต้นไม้)
         .    จากแรงเป็นรวง เลยล่วงเป็นเมล็ดสุดท้ายเบ็ดเสร็จทำให้เราแข็งแรง มีทุกหนแห่งสิ่งนั้นคืออะไร (ข้าว)

กิจกรรมที่10


 
1.  วิเคราะห์กรณีปราสาทเขาพระวิหาร

กรณีปราสาทเขาพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2502
คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลกตัดสินคดีนี้อย่างไม่ยุติธรรม เนื่องจากศาลโลกยึดติดอยู่บนแผนที่ฉบับเดียว โดยที่ศาลโลกมิได้มีการตรวจสอบสถานที่อย่างจริงจังตามข้อตกลงไทย-ฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม การตัดสินคดีครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ในบริเวณดังกล่าวให้หมดไป และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อมาจนถึงปัจจุบัน
สถานการณ์ที่เขาพระวิหาร ถือว่าเป็นกรณีตัวอย่างที่มีความซับซ้อนและอ่อนไหว มีคนใช้ประเด็นนี้เพื่อหวังผลทางการเมืองภายใน และภายนอกประเทศ ที่แม้จะมีบางมุมที่ส่งผลดี แต่ทว่าก็สุ่มเสี่ยงต่อความพลาดพลั้งที่จะเกิดขึ้น ประการแรก คือ ชีวิตคนบริสุทธิ์ที่อาจได้รับอันตราย ประการที่สอง คือ การพลาดท่าที่จะทำให้มหาอำนาจเข้ามาแทรกแซงสถานการณ์บริเวณดังกล่าว ที่หากเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้การเดินเกมของกัมพูชาในการยึดครองพื้นที่พิพาทบริเวณดังกล่าวง่ายขึ้นนั่นเอง
                จากกรณีดังกล่าวของเขาพระวิหาร จึงเห็นได้ว่าประเทศไทยยังมีพื้นที่ทับซ้อนกันแต่ว่าการตัดสินของศาลโลกทำให้เกิดการที่เรียกกันว่าเอาเปรียบกัน และไม่ค่อยยุติธรรมเนื่องมาจากพื้อนที่ส่วนนั้นจากการมองดูพื้นที่แบบภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ของไทยแต่จากการที่กัมพูชาอาจมีทางเอาชนะได้หลายรูปแบบสาลโลกจึงตัดสินให้กัมพูชาชนะคดี

2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีคนไทยถูกจับกุมตัว  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยรู้และตระหนักเรื่องของดินแดนขึ้นมาเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะไม่ให้จังหวัดของประเทศเรากลายไปเป็นของคนอื่น  ดั้งนั้นเรื่องนี้รัฐบาลจึงต้องดูแลและรักษาดินแดนไว้ซึ่งดินแดนไว้ให้สมบูรณ์ครบถ้วน

3.
  วิเคราะห์กรณี mou43  
               ในกรณีดังกล่าวเป็นปัญหาในเรื่องของเขตแดนที่มีความซับซ้อนกันของไทยกับกัมพูชา โดยสืบเนื่องมาจากการที่คนไทยทั้ง7คนถูกจับกุม ในข้อหาลุกล้ำเข้าเมืองแต่ทางประเทศไทยก็มีความเชื่อาว่าพื้นที่ตรงส่วนนั้นเป็นพื้นที่ของประเทศไทยทำให้นำไปสู่ปัญหาการปักปันเขตแดน 
                ซึ่งในกรณีนี้มีความคิดเห็นว่าการที่กัมพูชาจับกุมคนไทยไปก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้เพราะคิดว่าพื้นที่ส่วนนั้นเป้นของตน  แต่เมื่อมีการออกมาทักท้วงในด้านของดินแดนทางกัมพูชาก็ควรที่จะปล่อยแล้วดำเนินคดีเรื่องของดินแดนก่อน เพื่อจะได้ไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับไทย

4.  วิเคราะห์กรณี กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชา

                จากการที่เกิดปัญหาในการจับกุมนั้นเป็นเรื่องที่รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ทางกัมพูชาจะใช้อำนาจผิดพลาดไปเพราดินแดนในส่วนนั้นยังเป็นข้อพิพาทอยู่จึงไม่ควรทำเหมือนกับว่าเป็นของตนเอง  ควรที่จะดำเนินตัดสินเรื่องเขตที่ยังซ้อนทับกันก่อน  และเหตุการณ์นี้ยังสามารถเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่อาจจะมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ของประเทศ  เพราะทางกัมพูชาล่วงล้ำและบุกรุกเข้ามาเรื่อยๆซึ่งทำให้เห็นว่ารัฐบาลของไทยที่ยังอ่อนอยู่ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านบุกรุกแต่เขากลับชนะแล้วยังได้ดินแดนไปด้วย
ดังนั้น  รัฐบาลไทยควรที่จะหาข้อมูลที่แข็งและเป็นประโยชน์เพื่อที่จะเอาดินแดนของตนเองกลับคืนมาและจะต้องช่วยคนไทยที่ถูกจับกุมไปกลับมาได้อย่างปลอดภัย มิฉะนั้นอีกไม่นานดินแดนประเทศไทยจะถูกรุกรานไปเรื่อยๆ

กิจกรรมที่9

จากการศึกษาโทรทัศน์ครู  เรื่อง 15ปีไม่มีเบื่อ สำคัญที่เตรียมการสอน จึงสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
                จากการที่ได้ศึกษาจาการดูโทรทัศน์เรื่อง 15ปีไม่มีเบื่อ สำคัญที่เตรียมการสอน แล้วทำให้มีความตระหนักถึงการเป็นครูที่กระตือรือร้นมากขึ้นในด้านการเตรียมการสอนที่ดีการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆตลอดเวลาเพื่อที่ได้นำไปใช้ในการสอนที่ไม่น่าเบื่อ  โดยที่การฝึกฝน  การหาเทคนิคการสอนเช่น การอ่านหนังสือเทคนิคการสอนของต่างประเทศ  การเข้าฝึกอบรมการทำกิจกรรมซึ่งจะสามารถมีได้ตลอดเวลาเพื่อจะได้พัฒนานักเรียนให้ได้รับความรู้อย่างเต็มที่ 
หากต้องไปฝึกสอนที่สถานศึกษาดังกล่าวจะต้องเตรียมตัวในการสอนอย่างมากจัดเรียงลำดับการสอนให้เป็นระบบเพื่อจะได้พัฒนานักเรียนได้อย่างเต็มที่และนักเรียนจะไม่สับสนด้วยซึ่งในการเขียนแผนการสอนก็มีความจำเป็นที่จะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานของหลักสูตร และสอดคล้องกับตัวชี้วัดด้วยซึ่งจะทำให้การสอนเป็นไปอย่างง่ายไม่ตะกุกตะกักและนักเรียนก็สามารถเชื่อมโยงความรู้แล้ววิเคราะห์ความรู้ได้จนสรุปความรู้ได้
                คุณสมบัติของครูจะต้องมีลักษณะของความรับผิดชอบคิดและหาวิธีการสอนใหม่ที่จะมาสอนนักเรียน เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน  ซึ่งครูก็ต้องมีสมบัติในการวิเคราะห์ตัวของนักเรียนที่มีความแตกต่างกันในด้านความสามารถ  และครูจะต้องรู้จักการเตรียมตัวการสอนและจัดเรียงเนื้อหาให้เป็นลำดับและตรงกับมาตรฐานหลักสูตรและตัวชี้วัดซึ่งจะต้องมีการพัฒนาตามคุณลักษณะ และครูจะต้องรู้จักการหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ กล้าที่จะทดลองและพัฒนาการสอนอยู่เสมอ

ครูจะต้องมีคุณสมบัติ
1. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว
2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์
3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม
4. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม
5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด
7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์
การเป็นครูที่ "ดี" นั้น ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง
1. ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ทันสมัยและเหมาะสมอยู่เสมอ
2. มีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน
3. มีบุคลิกภาพที่ดี
4. มีความรู้ความชำนาญในงานที่สอน
5. มีความอดทน
6. มีลักษณะซึ่งผู้เรียนให้ความไว้วางใจ
7. มีความกระตือรือร้นในการถ่ายทอดความรู้
8. มีความจริงใจ
9. มีลักษณะเป็นผู้นำ



กิจกรรมที่8


 รื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)

ให้นักศึกษา  สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
                      แนวทางพัฒนาองค์การ
                      กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้

สรุปความหมายความหมายของวัฒนธรรมองค์การ

             วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก พฤติกรรมและสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในองค์การ หรือถ้าจำเพาะเจาะจง หมายถึง ปรัชญา อุดมการณ์ ความรู้สึก คติฐาน (assumption) ความคาดหวัง เจตคติ บรรทัดฐาน (norms) และค่านิยม (value) วัฒนธรรม องค์การมีความสัมพันธ์กับการบริหารทางการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน เป็นต้นว่า โครงสร้างขององค์การ แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง องค์การได้รับพลังมาจากสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของข้อมูลข่าวสาร บุคคล และวัสดุอุปกรณ์ พลังดังกล่าวจะเชื่อมโยงมาเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์การ และทำให้สมาชิกในองค์การประสบผลตามที่ต้องการ ส่วนกระบวนการบริหาร เช่น แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ การสื่อสาร การเปลี่ยนแปลง และโครงสร้างขององค์การ ได้แก่ คำอธิบายงาน ระบบคัดเลือก ระบบประเมินผล ระบบควบคุม และระบบการให้รางวัล มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมองค์การและอื่น ๆ สิ่งแวดล้อมภายนอกยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์การด้วย ระบบสังคมจะให้ผลย้อนกลับเพื่อตรวจสอบวัฒนธรรมปัจจุบันว่าควรอยู่หรือ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมย่อย (subculture) ในองค์การขนาดใหญ่และซับซ้อนไม่อาจจะมีส่วนต่าง ๆ คล้ายกันได้ เป็นต้น แนวความคิดเกี่ยวกับองค์การ

 แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
              แนว คิดของวัฒนธรรมองค์กรในลักษณะต่างๆที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ในองค์กร คือ วัฒนธรรมลักษณะสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์กรการเรียนรู้ วัฒนธรรมองค์กรอัจฉริยะ วัฒนธรรมองค์กรการเปลี่ยนแปลง และ วัฒนธรรมองค์กรแห่งการตื่นรู้ ดังนั้นก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของวัฒนธรรมดังกล่าวข้างต้น ยังมีนักวิชาการที่มีการแบ่งรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรไว้หลายลักษณะ ซึ่งความสัมพันธ์และส่วนประกอบของวัฒนธรรมองค์กรทำให้เกิดรูปแบบวัฒนธรรมที่ แตกต่างกัน เหมือนกับบุคลิกภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล
  
  แนวทางพัฒนาองค์การ
              การพัฒนาองค์การทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างคน และสังคม (People and Social) โครงสร้าง (Structure)  วิทยาการสมัยใหม่  (Technology)  ระบบงาน  (Work System) ให้สอดคล้องกันวงจรในการพัฒนาองค์การ จะมีลักษณะกระบวนการย้อนกลับ โดยเร่ิมจากวิเคราะห์องค์การการวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนการปฏิบัติการ และการประเมินผล   

กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ             
          1.การธำรงรักษาหรือพัฒนาวัฒนธรรมองค์การให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นโดยกำหนดแผนงาน
หรือโครงการต่าง ๆ
          2.การกำหนดค่านิยมขององค์การให้ชัดเจน ซึ่งค่านิยมที่กำหนดขึ้นจะต้องมีความสอดคล้อง
กับวิสัยทัศน์ (Vision) และภารกิจหลัก (Mission) ขององค์การ
          3.การพัฒนาองค์การโดยรวม เพราะองค์การที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานเช่นนี้มีส่วนทำให้คนในองค์การขาดความชัดเจนในทิศทางการบริหารงาน
          4.การพัฒนาผู้นำให้มีวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำ(Visionary Leadership) และตระหนัก
ว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงองค์การ

 แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
           เนื่อง จากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก   กล่าวคือไม่ต้องมีการ สั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ